ท่ามกลางกระแสเรื่องการเลือกตั้งที่ยังคงอยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ หนึ่งในเรื่องที่ประชาชนจับตาและคาดหวังจากรัฐบาลใหม่ คือเรื่องของการปราบปรามการทุจริต หรือคอร์รัปชัน
อีกหนึ่งกุญแจสำคัญของการปราบโกง นั่นคือ “การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐให้โปร่งใส” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถร่วมช่วยตรวจสอบได้ ว่ามีสิ่งผิดปกติในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการประมูลโครงการต่าง ๆ หรือไม่ อันเป็นส่วนสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้
5 ประเภททุจริตคอร์รัปชั่น เนื้อร้ายกัดกินประเทศไทย
ศูนย์ CDC โมเดลป้องปรามทุจริตเชิงรุก
เปิดข้อมูลสาธารณะให้ตรงจุดปราบโกง
สถานีโทรทัศน์ พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36 ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดเสวนา “ลงทุนไทยไร้สินบน : ปลดล็อกข้อมูลรัฐ จุดเปลี่ยนปราบโกง” เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลรัฐในการปราบปรามการทุจริต
คุณนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช. ระบุในการกล่าวปาฐกถาว่า การทุจริตคอร์รัปชันมีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ทั้งรัฐและเอกชน เพราะต้องมีทั้งผู้ให้สินบนและผู้รับสินบน เพราะฉะนั้น หากต้องการแก้ไข ต้องมีการขับเคลื่อนกันทุกภาคส่วน “โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลต้องโปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ ไม่ใช่ปกปิดเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง”
ข้อมูลของรัฐนั้นจำเป็นต้องเปิดให้ประชาชนรับรู้อย่างสะดวกสบาย กล่าวคือ ต้องมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งเดิมทีแล้ว พื้นฐานหลักการของการเปิดเผยข้อมูล หรือความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นหลักธรรมาภิบาลทั่วไปในการปราบคอร์รัปชัน แต่ในความเป็นจริงที่ผ่านมา เรื่องราวอาจไม่ง่ายอย่างปากว่า
“เอาเข้าจริง ๆ มักจะมีคนบอกว่า รัฐบาลหลายยุคหลายสมัย ออกกฎหมายเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร หรือ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก แต่เวลาไปติดต่อราชการ ไปขอทราบข้อมูลข้อเท็จจริงต่าง ๆ บางครั้งก็มักจะต้องรอคอย บางครั้งถูกปฏิเสธ โดยถูกบอกว่าเป็นข้อมูลราชการ เป็นความลับ ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันลับจริงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานภาครัฐ ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลในกระบวนการที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ” คุณนิวัติไชยกล่าว
เขาเสริมว่า ในทางหลักการ ประเทศไทยมีกฎหมาย มีบทบังคับ บทลงโทษ แต่ปัจจุบันมีการละเลยอยู่ ทำให้เรื่องของการเข้าถึงข้อมูลภาครัฐยังมีข้อจำกัด ในขณะเดียวกัน ประชาชนก็ต้องเห็นความสำคัญของข้อมูลรัฐเหล่านี้คำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ
“วันนี้เราต้องสื่อสารให้ท่านเข้าใจว่า สิทธิของประชาชนที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย มีอะไรบ้าง และท่านต้องใช้สิทธิเหล่านั้นให้เต็มที่ เพื่อช่วยกันตรวจสอบภาครัฐ เพราะถ้าประชาชนตรวจสอบภาครัฐมาก ๆ การกระทำที่ปกปิดหรือซ่อนเร้น มันก็จะลดน้อยลง เพราะวันนี้เจ้าหน้าที่รัฐเริ่มกลัวประชาชนแล้ว” เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าว
คุณนิวัติไชยบอกอีกว่า “ในส่วนของการเปิดเผยข้อมูลรัฐในเป็นสาธารณะ ถ้าเปิดเผยมาก ๆ จะช่วยปราบโกงได้ โดยเฉพาะข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ต้องเปิดเผยข้อมูล แต่ข้อมูลสาธารณะจะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อท่านไม่เพิกเฉย”
เขาเปรียบเทียบสถานการณ์การคอร์รัปชันว่า ก็เหมือนกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ที่ต้องมีเจ้าหน้าที่อสม.ตามหมู่บ้านช่วยสังเกตการณ์และเฝ้าระวังการแพร่ระบาด สร้างความเข้มแข็งให้หมู่บ้าน ป.ป.ช.เองก็ต้องการสร้างประชาชนช่วยสอดส่องการทุจริตในลักษณะคล้ายกัน
“ขอเพียงท่านเข้าใจเท่านั้นเองว่า การจะปราบโกงหรือการจะตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐทำอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน สามารถตรวจสอบได้ เพราะประชาชนทุกกลุ่มเป็นประชาชนที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งวันนี้มีบทบัญญัติว่า ประชาชนต้องไม่สนับสนุนการทุจริตทุกรูปแบบ เพราะฉะนั้นทุกท่านมีหน้าที่” คุณนิวัติไชยกล่าว
เรื่องนี้ตอกย้ำว่า แค่ ป.ป.ช. หรือหน่วยงานอื่นใดก็ตามเพียงลำพัง ไม่สามารถไล่จับข้าราชการคนโกงทั้งหมดได้ ต้องมีการขับเคลื่อนกันทั้งองคาพยพไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐ เอกชน หรือประชาชน จึงจะประสบความสำเร็จ
ซึ่งในส่วนของภาครัฐเอง นอกจากการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสแล้ว เรื่องของการสร้างจิตสำนึกก็สำคัญไม่แพ้กัน
คุณนิวัติไชยบอกว่า “เรื่องการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ต้องควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกของการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้าราชการที่ดีด้วย ต้องตระหนักว่า ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐ คือผู้ให้บริการแก่ประชาชนไม่ใช่นายของประชาชน เพราะถ้ามีการเปิดเผยไปแต่เจ้าหน้าที่รัฐยังมีการทุจริต ยังมีการเรียกรับเงินสินบนอยู่ มันก็ไร้ค่า เพราะฉะนั้นทั้งองคาพยพมันต้องไปด้วยกัน”
เลขาธิการ ป.ป.ช. ยืนยันว่า ประเทศไทยไม่ได้สิ้นหวังในการปราบปรามการทุจริต ยังมีหนทางสู่ความสำเร็จอยู่ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย
“วันนี้ประเทศไทยผมคิดว่า เราไม่ได้หมดหวังในการปราบปรามการทุจริต ผมคิดว่ามันดีขึ้น แต่มันอาจจะไม่ได้ปรู๊ดปร๊าด หรือเห็นผลทันตาว่าการทุจริตหมดไป มันคงเป็นไปได้ยาก แต่มันจะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป แต่ถ้าท่านอยากเห็นว่ามันน่าจะเร็วกว่านี้ ท่านต้องร่วมด้วยช่วยกัน”