ปิดฉาก! ประชุม รมต.การค้าเอเปค บางประเทศเห็นต่างสถานการณ์โลก

วันที่ 22 พ.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 65 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ แถลงผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ ที่ประชุมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมของการประชุมเอเปคได้เช่นเดียวกับบางครั้งที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น ปี 2560 และ 2561 แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ จะทีการออกแถลงการณ์ของประธานการประชุมเอเปคแทน ซึ่งได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการยกร่าง เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมในการยกร่างและจะประกาศเป็นทางการในรูปเอกสาร พร้อมกับเสนอไปในการประชุมสุดยอดผู้นำต่อไป

“แม้ว่าการประชุมครั้งนี้จะไม่ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วม แต่ถือว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จและประเทศไทยเคารพความเห็นของทุกเขตเศรษฐกิจ รวมทั้งประเทศไทยยังพร้อมทำงานร่วมกับเอเปคอย่างเข้มแข็งต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดตั้ง เอฟทีเอ เอเปค การสนับสนุนการค้าในรูปแบบพหุภาคีและการจับมือเดินไปด้วยกันอยู่ร่วมกันกับโควิดและอนาคตต่อไป”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ทั้งนี้ สาเหตุที่ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ เนื่องจากตามหลักการหากเกิดแถลงการณ์ร่วมขึ้นได้ ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ต้องมีความเห็นตรงกันทั้งหมดที่เรียกว่าเป็นฉันทามติ แต่ถ้ามีเขตเศรษฐกิจใดเศรษฐกิจหนึ่งเห็นไม่สอดคล้องก็ไม่สามารถประกาศร่วมได้ ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เนื่องจากมีความเห็นไม่สอดคล้องกันในเรื่องสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นอยู่ อย่างไรก็ดีทุกเขตเศรษฐกิจเห็นพ้องกันในการให้มีแถลงการณ์ร่วม เพียงแต่มีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่เห็นไม่สอดคล้องกัน บางเขตเศรษฐกิจเห็นไม่ตรงกัน เป็นที่มาที่ทำให้ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ภาพรวมการประชุมเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพตลอด 2 วันที่ผ่านมา ตนได้แสดงความชื่นชมกับรัฐมนตรีการค้าเอเปคจากทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ รวมทั้งสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค ซึ่งทุกฝ่ายแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสมาชิกเอเปคในการผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อฝ่าวิกฤติโควิด ไปด้วยกันภายใต้วิสัยทัศน์ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์เชื่อมโยงกันสู่สมดุล

นอกจากนี้ ทุกฝ่ายยังเห็นพ้อง การผลักดันการเปิดเอฟทีเอ เอเปค ให้เกิดขึ้นเจริงภายในปี 2583 นอกจากนี้ ได้มีการตั้งคณะทำงาน เอเปค เซฟ พาสเซจ ทาสก์ ฟอร์ซ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างสมาชิก ตลอจนมุ่งสร้างสมดุล ในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงานและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทุกระดับ จนถึงระดับเอสเอ็มอี แรงงาน ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง สตรี ที่สำคัญทุกเขตเศรษฐกิจได้ยอมรับและสนับสนุนเศรษฐกิจ บีซีจี ตามที่ประเทศไทยมีการผลักดันอีกด้วย