“เจมส์ เว็บบ์” แชะภาพ “ดาวแคระน้ำตาล” ขนาดเล็กสุดที่เคยพบ
สำหรับคนที่ติดตามหรือศึกษาเรื่องของจักรวาลและอวกาศ คงคุ้นเคยกันดีกับประเภทของดาวต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าส่วนใหญ่คงจดจำดาวฤกษ์และดาวเคราะห์เป็นหลัก แต่ยังมีดาวอีกชนิดหนึ่งที่ความจริงแล้วนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ นั่นคือ “ดาวแคระน้ำตาล” (Brown Dwarf)
ดาวแคระน้ำตาลได้ชื่อว่าเป็น “ดาวฤกษ์ที่ล้มเหลว” เพราะมันไม่ใช่ทั้งดาวฤกษ์ และไม่ใช่ทั้งดาวเคราะห์ แต่กลับมีคุณลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกับดาวทั้งสองประเภท
ยาน “เพอร์เซเวียแรนซ์” ของนาซา พบเบาะแสใหม่ ยืนยันดาวอังคารเคยมีน้ำ
“เจมส์ เว็บบ์” เผยภาพ “ซากซูเปอร์โนวาแคสสิโอเปีย” สุดตรึงตรา
นักวิทย์พบ “ระบบสุริยะสมบูรณ์แบบ” กุญแจไขคำตอบการกำเนิดดาวเคราะห์
อย่างแรก ดาวแคระน้ำตาลเกิดจากเมฆก๊าซที่ยุบตัวเช่นเดียวกับดาวฤกษ์ทั่วไป แต่ไม่สามารถรวบรวมมวลได้มากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันไฮโดรเจน ซึ่งเชื่อว่าต้องมีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดีอย่างน้อย 75 เท่า และกลายเป็นดาวฤกษ์ได้ และอย่างที่สอง ดาวแคระมักโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ (เหมือนดาวเคราะห์) และมักมีมวลใกล้เคียงกับดาวเคราะห์
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาว่าทำไมดาวแคระน้ำตาลจึงถูกมองว่าเป็นวัตถุที่จะเป็นดาวฤกษ์ก็ไม่ใช่ ดาวเคราะห์ก็ไม่เชิง พวกมันจึงเป็นเป้าหมายการศึกษาที่น่าสนใจ ในฐานะสิ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจการกำเนิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
ล่าสุดจึงได้มีการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ถ่ายเข้าไปในกระจุกดาว IC 348 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,000 ปีแสง และพบดาวแคระน้ำตาลทั้งหมด 3 ดวง ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็น “ดาวแคระน้ำตาลที่เล็กที่สุดและลอยได้อย่างอิสระที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ”
สำหรับขนาดของดาวแคระน้ำตาลที่เล็กที่สุดที่พบในกระจุกดาว IC 348 นั้น ใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และมีมวลเพียง 3 เท่าของดาวพฤหัสบดีเท่านั้น มิหนำซ้ำ ยังลอยอยู่อย่างอิสระไม่ได้โคจรรอบดาวฤกษ์ตามหลักการปกติด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เควิน ลูห์แมน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนีย หัวหน้าทีมวิจัยผู้ค้นพบครั้งนี้ กล่าวว่า “คำถามพื้นฐานข้อหนึ่งที่คุณจะพบในตำราดาราศาสตร์ทุกเล่มคือ ดาวฤกษ์ที่เล็กที่สุดคืออะไร นั่นคือสิ่งที่เรากำลังพยายามหาคำตอบ”
ทีมงานค้นพบดาวแคระน้ำตาลทั้งสามดวงนี้ โดยใช้กล้องอินฟราเรดระยะใกล้ (NIRCam) ของ เจมส์ เว็บบ์ ส่องเข้าไปที่ใจกลางก๊าซและฝุ่นเล็ก ๆ ของกระจุกดาว IC 348 เนื่องจากกระจุกดาวนี้ยังอายุน้อย ดาวแคระน้ำตาลที่อยู่ภายในจึงยังคงเรืองแสงด้วยแสงอินฟราเรด ซึ่งเป็นผลมาจากความร้อนที่หลงเหลือจากการก่อตัว ทำให้สามารถบันทึกไว้ด้วยกล้องอินฟราเรดได้
อย่างไรก็ดี แม้จะมีภาพและข้อมูลล่าสุดจาก เจมส์ เว็บบ์ แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่า วัตถุขนาดเล็กที่สุดที่สามารถกลายเป็นดาวฤกษ์ได้จะมีขนาดเท่าไหร่ และปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันจะเริ่มต้นที่มวลขั้นต่ำเท่าใด
เรียบเรียงจาก Space.com
ภาพจาก ASA, ESA, CSA, STScI, Kevin Luhman (PSU), Catarina Alves de Oliveira (ESA)
ความเห็นเอกฉันท์! นิด้าโพลเผยผล ขึ้นเงินเดือนข้าราชการและค่าแรงขั้นต่ำ
อุตุฯ ประกาศเตือนอากาศหนาว อุณหภูมิลดสูงสุด 8 องศา