ชาวจีนเห็นต่าง บังคับใช้กฎหมาย “ส่งเสริมความรักชาติ”
หนังสือพิมพ์ People’s Daily ของทางการจีน รายงานว่า ร่างกฎหมายการศึกษาเรื่องความรักชาติ (Patriotic Education Law) ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการหลังเข้าสู่ปี 2024 มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศความรักชาติในสังคม
เจิง เจียนลี่ รองผู้อำนวยการแผนกโฆษณาชวนเชื่อส่วนกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการโฆษณาและเซ็นเซอร์ของพรรคคอมมิวนิสต์ ระบุว่า มีความจำเป็นที่ต้องรวมความคิดและพลังของคนในสังคมเพื่อสร้างชาติที่เข้มแข็งและฟื้นฟูประเทศ
หลายชาติยุโรปหยุดมอบเงินหนุน UNRWA เหตุมีเจ้าหน้าที่เอี่ยวกลุ่มฮามาส
ออกเดินทางแล้ว! “Icon of the Seas” เรือสำราญใหญ่ที่สุดในโลก
ไฟไหม้ครั้งใหญ่กลางเมืองลิเวอร์พูล โชคดีไร้ผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต
ความพยายามผลักดันเรื่องความรักภักดีในชาติและพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในจีน ที่จริงแล้ว ความรักชาติและโฆษณาชวนเชื่อหลอมรวมอยู่ในการศึกษา วัฒนธรรมองค์กร และชีวิตของผู้คน มาตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนก่อตั้งขึ้นเมื่อเกือบ 75 ปีก่อน
แต่ช่วงปลายปี 2022 เราได้เห็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยในยุคของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เมื่อประชาชนชาวจีนในหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึงที่อยู่ในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯ และแคนาดา ลุกฮือประท้วงนโยบาย zero-covid ของรัฐบาล
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ และอัตราว่างงานของคนหนุ่มสาวที่พุ่งทุบสถิติ เข้ามาผสมโรง ยิ่งเติมเชื้อไฟให้ประชาชนไม่พอใจมากขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญมองว่า รัฐบาลปักกิ่งตั้งใจใช้กฎหมายนี้ ปลุกกระแสความรักชาติขึ้นมาอีกครั้ง หลังเกิดกระแสต่อต้านอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งหลังจากบังคับใช้กฎหมายนี้แล้ว ประชาชนชาวจีนจะไม่สามารถพูดหรือกระทำการลบหลู่ดูหมิ่นสัญลักษณ์สำคัญอย่างธงชาติ รวมถึงวีรบุรุษและผู้ที่สละชีวิตให้กับประเทศได้อีกต่อไป
ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ สถานศึกษาทุกระดับชั้นต้องรวมเรื่อง “ความรักชาติ” ไว้ในหลักสูตร และต้องบูรณาการเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรักชาติให้เข้ากับวิชาต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีข้อบังคับให้โรงเรียนจัดทริปทัศนศึกษาไปยังสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมอย่าง พิพิธภัณฑ์ และห้องสมุด เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกรักชาติ
แม้แต่บรรดาบริษัทเอกชน และผู้คนในทุกสาขาอาชีพ ก็ต้องบรูณาการเรื่องความรักชาติไว้ในแผนปฏิบัติงาน รวมถึงหลักสูตรอบรมพนักงานของบริษัท
นอกจากนี้ กฎหมายยังระบุว่า ครอบครัวควรมีส่วนในการปลูกฝังเรื่องความรักในแผ่นดินเกิด และสนับสนุนให้บุตรหลานทำกิจกรรมที่แสดงความรักชาติ
กฎหมายนี้ยังครอบคลุมไปถึงการส่งเสริมความรักชาติในกลุ่มชาวฮ่องกง มาเก๊า ยกระดับการโฆษณาและให้ความรู้เรื่องการรวมจีน ยกระดับการสื่อสารกับชาวจีนโพ้นทะเล รวมถึงชาวไต้หวัน
โดยทางการจีนจะจับตาตรวจสอบเรื่องนี้ และหากพบว่าประชาชนในพื้นที่ใดไม่ยอมทำตามข้อบังคับ ก็จะพิจารณามาตรการตอบโต้ ซึ่งรวมถึงการคว่ำบาตร
อย่างที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ซึ่งอยู่ภายใต้หลักการ “1 ประเทศ 2 ระบบ” จะเห็นว่ารัฐบาลปักกิ่งมีความพยายามแก้กฎหมาย เพื่อให้แน่ใจว่า "บุคคลที่รักชาติ" เท่านั้น ได้มีโอกาสเป็นผู้บริหาร และล่าสุด ฮ่องกงยังมีแผนจะตั้งหน่วยงานด้านการศึกษาความรักชาติ เช่นเดียวกับมาเก๊า ที่จะยกระดับมาตรการส่งเสริมความรักชาติ
กฎหมายการศึกษาเรื่อง "ความรักชาติ" ได้รับความสนใจอย่างมากในเวยป๋อ โซเชียลมีเดียของจีน โดยแฮชแท็กที่เกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ มีคนเข้าไปรับชมแล้วเกือบ 100 ล้านครั้ง และมีคนตั้งกระทู้สนทนากันมากกว่า 11,000 กระทู้ ซึ่งในช่วงที่ร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบเมื่อปีที่แล้ว หัวข้อนี้ยังเป็นหัวข้อที่มีคนค้นหามากที่สุดด้วย
ในส่วนของปฏิกิริยาจากชาวเน็ต มีทั้งคนที่สนับสนุน และคนที่ตั้งคำถามว่า ความรักชาติเป็นสิ่งที่บังคับกันด้วยกฎหมายได้หรือไม่คำพูดจาก สล็อตฝ
ชาวเน็ตหลายคนขุดประวัติของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาแฉ โดยเฉพาะพวกที่สมาชิกครอบครัวย้ายไปอยู่สหรัฐฯ หรือกำลังศึกษาต่อในสหรัฐฯ พร้อมตั้งคำถามว่านี่เรียกว่าความรักชาติหรือไม่
ส่วนในฝั่งผู้ปกครอง หลายคนก็ตั้งข้อสงสัยว่า การเรียนของลูก ๆ จะได้รับผลกระทบจากกฎหมายใหม่นี้หรือไม่
ผู้ปกครองท่านหนึ่งในกรุงปักกิ่ง ที่บอกเพียงว่านามสกุล ฟ่าน กังวลว่าลูก ๆ จะไม่ได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในโรงเรียน เพราะลูกคงไม่ได้รับอนุญาตให้ตั้งคำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีน
แต่ก็ไม่ใช่ผู้ปกครองทุกคน จะกังวลใจในเรื่องนี้ และมีไม่น้อยที่สนับสนุนกฎหมายการศึกษาเรื่อง "ความรักชาติ" อย่างเต็มที่
ลี่ ย่ง ผู้ปกครองวัย 42 ปี ที่ส่งลูกสาวเข้าเรียนโรงเรียนรัฐในกรุงปักกิ่ง บอกว่า ตนเองไม่เข้าใจว่ามันผิดตรงไหนที่สอนให้เด็กรักชาติ ตรงกันข้าม เขากลับกลัวว่าเด็กรุ่นนี้จะเติบโตไปแบบไม่มีคุณธรรม เพราะตอนนี้ สังคมจีนพัฒนาไปแบบก้าวกระโดด ทำให้หนุ่มสาวชาวจีนยึดค่านิยมทางวัตถุและทุนนิยมมากขึ้นกว่าคนรุ่นพ่อแม่
นายลี่ ระบุว่า เด็กและวัยรุ่นสมัยนี้สนใจแต่เรื่องเงิน เพราะได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่เห็นในทีวีและอินเทอร์เน็ต จนบูชาแต่ดารานักร้องและอินฟลูเอนเซอร์
นายลี่บอกว่า ถ้าจะมีอะไรที่เขาจะกังวลเกี่ยวกับกฎหมายใหม่นี้ ก็น่าจะมีแค่ปริมาณการบ้านของลูกที่อาจจะเพิ่มขึ้น เพราะทุกวันนี้เด็กนักเรียนจีนก็เรียนกันหนักมากพอแล้ว