ธนาคารพร้อมจัดการภัยการเงิน สแกนหน้าโอนเงิน ป้องกันมิจฉาชีพ

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกันในการดูแลการทำธุรกรรมทางการเงินตลอดเส้นทาง ทั้งการป้องกัน การตรวจจับ และการตอบสนองและรับมือ ซึ่งจะช่วยการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนทำได้รวดเร็ว และครอบคลุมมากขึ้น

ล่าสุดวันที่ 10 มี.ค. 66 ทางด้าน ธปท. ร่วมด้วยสมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ได้ออกมาแสดงความมั่นใจว่าทุกอย่างทุกมาตรการจะเสร็จสิ้นตามที่ธปท.ได้กำหนด โดยเฉพาะการโอนเงินที่ต้องสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนหากวงเงินเกิน 50,000 บาทต่อครั้ง หรือเกิน 200,000 บาทต่อวัน หรือหากมีการปรับเปลี่ยนวงเงินให้เป็นเกิน 50,000 บาท ซึ่งทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐ ยืนยันว่าจะทำได้ไม่มีปัญหา และยังมีแนวทางป้องกันภัยการเงินทางไซเบอร์อื่นๆเพิ่มเติม เช่น การจัดตั้งศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นต้น

ทางด้าน “สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. ได้บอกว่า การยกระดับให้เรื่องนี้เป็นความเสี่ยงสำคัญที่ทุกสถาบันการเงินจะต้องดูแลและบริหารจัดการอย่างจริงจัง โดย ธปท. ได้ออกชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อช่วยให้ระบบการเงินมีความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการทางการเงิน และเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว ธปท. จึงได้เรียกผู้บริหารสถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐเข้ามาประชุมหารือและกำชับให้สถาบันการเงินทุกแห่งเร่งดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว และเตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินงานตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถาบันการเงินทุกแห่ง

ด้าน “ผยง ศรีวณิช” ประธานสมาคมธนาคารไทย ยืนยันว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งพร้อมปฏิบัติตามมาตรการของธปทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. พร้อมยกระดับความปลอดภัยของภาคธนาคาร เพื่อรับมือและจัดการภัยทางการเงินออนไลน์ ได้แก่ เรื่องการป้องกัน ภาคธนาคารได้ร่วมมือกันงดการส่งข้อความ SMS ที่แนบลิงก์ในการติดต่อกับลูกค้าในระยะนี้ และเร่งพัฒนาระบบป้องกันการทำธุรกรรมทุจริตอย่างต่อเนื่อง

เรื่องการตรวจจับ ธนาคารสมาชิกอยู่ระหว่างนำเทคโนโลยีมาช่วยตรวจจับธุรกรรมต้องสงสัยให้ได้โดยเร็ว โดยร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทุจริตในภาคธนาคาร (Central Fraud Registry) เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชี ธุรกรรมต้องสงสัย และบัญชีม้า ระหว่างธนาคารเพื่อดำเนินการติดตามป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น จะได้เห็นออกมาภายในปีนี้

เรื่องการตอบสนองและรับมือ จัดให้มีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (Hotline) 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน ลูกค้าที่ตกเป็นเหยื่อสามารถแจ้งเหตุได้โดยตรง ปัจจุบันมีธนาคารสมาชิกหลายแห่งเริ่มดำเนินการแล้ว

สำหรับมาตรการอื่นที่ระบบมีความซับซ้อนต้องใช้เวลาพัฒนา สมาคมฯ และธนาคารสมาชิก จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จทันตามกรอบเวลา นอกจากนี้ ยังพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้ให้บริการ e-wallet ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทุจริตภัยการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทั้งระบบนิเวศแบบ end to end ที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอกลวง

ขณะที่ “ฉัตรชัย ศิริไล” ประธานสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของสถาบันการเงินของรัฐส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายย่อย ซึ่งมีความเสี่ยงถูกหลอกลวง การดูแลความปลอดภัยในการใช้บริการทางการเงินให้กับลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ สมาคมฯ และสถาบันการเงินสมาชิกพร้อมให้ความร่วมมือกับ ธปท. และสมาคมธนาคารไทยในการจัดการเรื่องดังกล่าว

ที่ผ่านมาสถาบันการเงินสมาชิกหลายแห่ง ได้มีแนวทางการป้องกันภัยทุจริตทางการเงินต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะการออกประกาศเตือนการไม่ส่งลิงก์ต่าง ๆ ให้กับลูกค้าและประชาชน และการเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงิน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกหลอกลวงแล้ว ยังสามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากการร้องเรียนมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางและพัฒนาระบบการป้องกันภัยทุจริตทางการเงินที่จะเกิดในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“ทวนทอง ตรีนุภาพ” ผู้แทน สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า ธนาคารรัฐที่มีโมบายแบงก์กิ้ง ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) , ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) มีความพร้อมเรื่องเทคโนโลยีไบโอเมตริกสแกนใบหน้ายืนยันตัวตน ซึ่งปัจจุบันได้ใช้อยู่แล้ว และเชื่อว่าการนำมาใช้กับการโอนเงินเพิ่มเติมที่หากวงเงินเกิน 50,000 บาทต่อครั้งและอื่นๆนั้น จะไม่มีปัญหา

“ลูกค้าแบงก์รัฐส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเปราะบาง และมีบางคนที่ไม่สะดวกใช้โมบายแบงก์กิ้งหรือไม่มีความพร้อม ความเสี่ยงภัยการเงินตรงนี้ลดลง เพราะยังไม่ได้ใช้ แต่ในอนาคตธนาคารก็ส่งเสริมให้ใช้ แต่ก็ต้องควบคู่ให้ความรู้กับกลุ่มเปราะบางนี้ เพื่อให้เกิดความระมัดระวังกับความเสี่ยงให้ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นพิเศษ”