ชาวนาห่วง เอลนีโญ ทำข้าวยืนต้นตาย ผลผลิตน้อย ซ้ำ ปชช.ต้องซื้อข้าวแพงขึ้น
ต้นกล้าข้าวหอมมะลิ จำนวน 3 ไร่ ในนาข้าวของนาย สมพร แจ่มทองหลาง อายุ 41 ปี เกษตรกรในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา บอกว่า ในปีนี้ตนเองลงทุนปลูกข้าวนาปี และเริ่มประสบกับปัญหาฝนทิ้งช่วง ต้นข้าวที่ปลูกไว้เริ่มขาดน้ำ เพราะพื้นที่ทำนาปลูกข้าว เป็นพื้นที่นาดอน ไม่มีแหล่งน้ำไหลผ่าน รอคอยเพียงน้ำฝนที่จะตกลงมาตามฤดูกาลเท่านั้น
หากใน 1-2 เดือนข้างหน้า ประสบกับปัญหา ฝนทิ้งช่วงอีก ก็จะทำให้ผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายทั้งหมดอย่างแน่นอน
เพราะตนเองไม่ได้มีการวางแผนรับมือภัยแล้ง เนื่องจากในทุกๆปีที่ผ่านมา การทำนาปลูกข้าว จะมีฝนตกลงมาตามฤดูกาลทุกครั้ง แต่มาในปีนี้ หลังทางภาครัฐได้ออกมาประกาศแจ้งเตือนเกษตรกรให้เตรียมพร้อมรับมือ ปรากฏการณ์เอลนีโญ หรือฝนทิ้งช่วง ในช่วงกลางเดือนหน้า ตนเองก็รู้สึกกังวลว่าต้นข้าวจะได้รับความเสียหาย เพราะไม่มีน้ำในการปลูกข้าว พื้นที่ตรงนี้เป็นนาดอน คงต้องปล่อยให้ต้นข้าวยืนต้นตาย
อุตุฯ คาดปีนี้แนวโน้มสูงเกิดปรากฎการณ์“เอลนีโญ” เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วง คำพูดจาก สล็อตวอเลท
“เอลนีโญ” เริ่มแล้ว! เตรียมรับปีที่โลกจะร้อนสุดเท่าที่เคยมีมา
สอดคล้องกับ นายวิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า มีสัญญาณที่ชัดเจนว่าในช่วงปลายปีนี้ ประมาณเดือนตุลาคม จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งอาจลากยาวไปจนถึงช่วงกลางปีหน้า ส่งผลให้ประเทศไทยประสบภัยแล้งและอากาศร้อนจัดกว่าปกติ ปัจจุบันเกษตรกรไทยปลูกข้าว 3 ล้าน 6 แสนครัวเรือน โดยข้าวนาปรังมีพื้นที่เพาะปลูกราว 10 ล้านไร่ คาดการณ์ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำให้ผลผลิตข้าวนาปรังลดลง 50% เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือหายไปหลายร้อยล้านตัน เพราะอากาศที่ร้อนและแล้งทำให้ผลผลิตน้อย ซึ่งจะกระทบทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ชาวนา ผู้ประกอบการ ไปจนถึงผู้บริโภคที่อาจต้องซื้อข้าวในราคาแพงขึ้น
นายวิษณุ ยังบอกว่า มูลค่าความเสียหายจากเอลนีโญเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น จึงต้องรีบเตรียมรับมือ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หาวิธีเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนนี้ให้ได้มากที่สุด เกษตรกรควรเรียนรู้การทำการเกษตรแบบเท่าทันภูมิอากาศ เช่น ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง หรือทำเกษตรแบบผสมผสาน ขณะที่ภาครัฐควรใช้งบประมาณขุดลอกคูคลองให้ลึก รวมถึงขุดสระสาธารณะบนพื้นที่ที่ยังไม่มีแหล่งน้ำสาธารณะ เพราะปัจจุบันพื้นที่ชลประทานมีเพียง 1 ใน 5 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยเพื่อหาแนวทางเกษตรเท่าทันภูมิอากาศที่เหมาะกับบริบทของแต่ละพื้นที่ และสนับสนุนการพัฒนาสายพันธุ์พืชที่ทนร้อน ทนแล้ง รวมถึงนโยบายด้านการเกษตรต้องเปลี่ยนจากที่เน้นการเยียวยา เป็นป้องกันปัญหา