เคียงข้างซากไททานิก สรุปทุกรายละเอียด “โศกนาฏกรรมยานดำน้ำไททัน”

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การสูญหายของยานดำน้ำไททัน (Titan) หรือ เรือดำน้ำไททันจบลงที่โศกนาฏกรรม เมื่อหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ออกมาแถลงข่าวยืนยันว่า ผู้ที่อยู่บนยานไททันทั้ง 5 คนเสียชีวิตแล้ว และพบซากชิ้นส่วนยานไททัน ซึ่งคาดว่าเกิดการระเบิดเนื่องจากแรงดันน้ำมหาศาลใต้มหาสมุทร

นิวมีเดีย พีพีทีวี สรุปทุกรายละเอียดสำคัญของโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นที่จดจำไม่แพ้ “ไททานิก” เป้าหมายการสำรวจที่นำมาสู่ข่าวเศร้าที่ทั่วโลกต่างร่วมอาลัย

สาเหตุการระเบิด?

พลเรือตรี จอห์น เมาเกอร์ ผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งที่ 1 ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่ายานบังคับระยะไกล (ROV) ของทีมค้นหา ได้ค้นพบชิ้นส่วนกรวยส่วนท้ายของยานและเศษซากอื่น ๆ รวมทั้งหมด 5 ชิ้นหลัก ๆ อยู่ห่างจากซากเรือไททานิกประมาณ 488 เมตร

“นี่เป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าให้อภัยอย่างเหลือเชื่อบนพื้นทะเล และเศษซากต่าง ๆ นั้นบ่งชี้ว่าเกิดการระเบิด (Implosion) ของเรืออย่างรุนแรง” เมาเกอร์กล่าว

ด้าน พอล แฮงกินส์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเก็บกู้และวิศวกรรมมหาสมุทรของกองทัพเรือสหรัฐฯ เสริมว่า เศษซากดังกล่าว “บ่งชี้ถึงการสูญเสียความดันภายในตัวยาน” และนำไปสู่ “การระเบิดที่รุนแรง” (catastrophic implosion)

ทั้งนี้ จะสังเกตจากคำพูดของเมาเกอร์และแฮงกินส์ได้ว่า การระเบิดในที่นี้ไม่ใช่การระเบิดแบบ “Explosion” แต่เป็นการระเบิดแบบ “Implosion”

การระเบิดแบบ Explosion นั้น จะเป็นการระเบิดที่เราคุ้นเคย คือจากภายในสู่ภายนอก แรงระเบิดจะแผ่ออกมาจากวัตถุ ส่วนการระเบิดแบบ Implosion จะทำให้วัตถุยุบตัวเข้าหาตัวมันเอง เกิดจากแรงภายนอกที่ทำให้โครงสร้างหรือวัตถุยุบตัว

อย่างไรก็ดี การระเบิดแบบ Implosion สามารถทำให้ชิ้นส่วนของวัตถุที่ระเบิดกระจายออกไปด้านนอกได้เช่นกัน เนื่องจากชิ้นส่วนที่เล็กกว่ามักจะกระเด็นออกไปหรือถูกดีดออกเมื่อชิ้นส่วนอื่น ๆ พังทลาย จึงเป็นที่มาที่มีการพบชิ้นส่วนยานไททันกระจัดกระจายออกมาแม้จะเป็นการระเบิดแบบ Implosion

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ยานดำน้ำไททันถูกบดขยี้ด้วยการระเบิดแบบ Implosion ก็คือเรื่องของ “แรงดัน” ที่มีมหาศาลใต้ทะเลลึก

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า ที่ระดับผิวน้ำทะเล แรงดันจะอยู่ที่ราว 14.7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) แต่ที่น่าตกใจคือ ระดับแรงดันน้ำที่ระดับความลึกซึ่งซากไททานิกจมอยู่นั้น สูงถึง 6,000 psi หรือก็คือแรงดันรุนแรงกว่าผิวน้ำมากกว่า 400 เท่า

นั่นแปลว่า หากเรือดำน้ำหรือยานดำน้ำใด ๆ เกิดข้อบกพร่อง ไม่สามารถต้านทานแรงดันมหาศาลใต้น้ำได้ เรือดำน้ำจะยุบตัวในเสี้ยววินาที ถูกบดอัดด้วยแรงดันน้ำมหาศาล ความตายเกิดขึ้นแทบจะในทันทีสำหรับผู้ที่อยู่ในเรือคำพูดจาก เว็บสล็อต777

การระเบิดเกิดขึ้นเมื่อใด?

ทีมค้นหายังไม่สามารถตั้งข้อสรุปได้ว่า เหตุการระเบิดของยานดำน้ำไททันเกิดขึ้นเมื่อใด แต่เมาเกอร์ระบุว่า ทุ่นโซนาร์ที่ส่งลงไปใต้น้ำเพื่อตรวจจับสัญญาณความเคลื่อนไหวต่าง ๆ “ตรวจไม่พบสัญญาณของเหตุการณ์ภัยพิบัติใด ๆ” ในช่วงเวลา 72 ชั่วโมงหลังเริ่มปฏิบัติการ ขณะที่อุปกรณ์ช่วยฟังเสียงที่ติดตั้งไว้ระหว่างการค้นหา ก็ไม่สามารถบันทึกสัญญาณของการระเบิดไว้ได้แต่อย่างใด

นั่นหมายความว่า การระเบิดอาจจะเกิดขึ้นก่อนที่ปฏิบัติการค้นหาจะเริ่มต้นขึ้น หรือก็คือระเบิดตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน ที่ยานไททันเริ่มดำน้ำลงไปแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจว่า กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ตรวจพบสัญญาณอะคูสติกที่สอดคล้องกับการระเบิดเมื่อวันอาทิตย์ และส่งข้อมูลนั้นไปยังผู้บัญชาการที่เป็นผู้นำการค้นหา แต่ก็ยังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นสัญญาณจากการระเบิดของไททันจริงหรือไม่

ส่วนกรณีที่มีการรายงานพบ “เสียงใต้น้ำ” ช่วงวันอังคารถึงพุธ (20-21 มิถุนายน) ซึ่งทำให้ทีมค้นหาจำกัดวงการค้นหานั้น ณ ตอนนี้ ดูเหมือนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะตำแหน่งเสียงกระแทกที่ตรวจจับโดยโซนาร์กับตำแหน่งที่พบเศษซากยานไททันนั้นไม่ตรงกัน

“ดูเหมือนจะไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ ระหว่างเสียงที่จับได้กับตำแหน่งยานไททันที่พบบนพื้นทะเล” เมาเกอร์กล่าว

สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้?

เมาเกอร์บอกว่า ยานควบคุมระยะไกลจะยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุและรวบรวมข้อมูลต่อไป และจะต้องใช้เวลาในการกำหนดไทม์ไลน์เฉพาะของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับไททันซึ่ง “ซับซ้อนอย่างเหลือเชื่อ”

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมีการสอบสวนคือ ช่วงเวลาที่หน่วยยามฝั่งได้รับแจ้งว่ายานไททันสูญหายไปนั้น ทิ้งช่วงนานเกินไปนับตั้งแต่ที่ขาดการติดต่อ

โดยมีข้อมูลว่า ไททันเริ่มดำน้ำลงในช่วงเวลา 6-7 โมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น (18.00-19.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) จากนั้น 1 ชั่วโมง 45 นาทีต่อมา เรือแม่ที่รออยู่บนผิวน้ำขาดการติดต่อกับไททัน

กระทั่งในเวลา 16.40 น. (04.40 น. ของวันที่ 19 มิ.ย. ตามเวลาประเทศไทย) หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ จึงจะได้รับแจ้งเหตุยืนยันเรือดำน้ำไททันสูญหาย ซึ่งเรื่องนี้คาดว่าจะต้องมีการสอบสวนหาความชัดเจน

ขณะที่ในส่วนของการเก็บกู้ซากและศพของผู้เสียชีวิตทั้ง 5 คนนั้น เจ้าหน้าที่กล่าวว่ายังไม่สามารถให้คำตอบได้ว่า จะสามารถลงไปเก็บกู้ได้หรือไม่

“เราจะทำงานต่อไปและค้นหาพื้นที่ต่อไป แต่ผมยังไม่มีคำตอบสำหรับประเด็นนี้ในตอนนี้” เมาเกอร์กล่าว

สำหรับผู้โดยสารทั้ง 5 คนที่เสียชีวิตในยานดำน้ำไททัน ประกอบด้วย

  • ฮามิช ฮาร์ดิง นักธุรกิจและนักสำรวจชาวอังกฤษวัย 58 ปี
  • ชาห์ซาดา ดาวู้ด นักธุรกิจชาวอังกฤษวัย 48 ปี
  • สุเลมาน ดาวู้ด ลูกชายของชาห์ซาดา วัย 19 ปี
  • พอล-อองรี นาร์โจเลต นักสำรวจชาวฝรั่งเศสวัย 77 ปี ฉายา “Mr.Titanic”
  • สต็อกตัน รัช ผู้บริหารของโอเชียนเกต วัย 61 ปี ซึ่งทำหน้าที่เป็นพลขับของยานไททัน

อีกหนึ่งเรื่องที่เป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้น คือเรื่องของการฟ้องร้องต่อบริษัทโอเชียนเกต เอ็กซ์พิดิชันส์ (OceanGate Expeditions) ผู้พัฒนายานไททัน ว่ากระทำการโดยประมาทหรือละเมิดมาตรฐานความปลอดภัยหรือไม่ แม้ผู้โดยสารจะมีการลงนามในสัญญาไม่เอาความหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นก็ตาม

แมทธิว ดี. แชฟเฟอร์ ทนายความและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการเดินเรือ กล่าวว่า สัญญาไม่เอาความไม่ได้มีผลผูกมัดเสมอไป และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้พิพากษาจะปฏิเสธสัญญาดังกล่าวหากมีหลักฐานว่า มีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรืออันตรายบางประการที่ไม่ได้เปิดเผยอย่างครบถ้วน

“หากมีบางแง่มุมของการออกแบบหรือการสร้างเรือลำนี้ซึ่งถูกปิดบังไม่ให้ผู้โดยสารทราบ หรือมีการใช้งานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์แม้จะมีข้อมูลว่ามันไม่เหมาะสำหรับการดำน้ำนี้ นั่นจะเป็นการขัดต่อความถูกต้องของสัญญาไม่เอาความ” แชฟเฟอร์กล่าว

ระดับของความประมาทเลินเล่อที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบที่อาจส่งผลต่อการบังคับใช้สัญญาไม่เอาความจะขึ้นอยู่กับผลของการสอบสวนหาสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้

ก่อนหน้านี้ มีรายงานที่แสดงให้เห็นว่า มีคนเคยเตือนโอเชียนเกตเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยร้ายแรงของไททัน

 เคียงข้างซากไททานิก สรุปทุกรายละเอียด “โศกนาฏกรรมยานดำน้ำไททัน”

เดวิด ล็อกริดจ์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางทะเลของโอเชียนเกต กล่าวในคดีความในปี 2018 ว่า การทดสอบและการรับรองความปลอดภัยของบริษัทยังไม่เพียงพอ และ ”จะทำให้ผู้โดยสารได้รับอันตรายร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในเรือดำน้ำ”

ย้อนไทม์ไลน์เหตุการณ์ทั้งหมด

โอเชียนเกต เอ็กซ์พิดิชันส์ ให้บริการนำผู้โดยสารไปยังซากเรือไททานิกที่ก้นมหาสมุทรด้วยราคาเริ่มต้นที่ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ (8.7 ล้านบาท) ต่อหัว

การเดินทางจะใช้เวลา 8 วัน โดยเรือเรือวิจัยโพลาร์พรินซ์ (Polar Prince) จะขนเรือดำน้ำไททันไปยังกลางมหาสมุทร เริ่มต้นจากเมืองเซนต์จอห์น รัฐนิวฟาวด์แลนด์ แคนาดา เดินทางระยะทาง 700 กิโลเมตรไปยังซากเรือ

จากนั้นโพลาร์พรินซ์จะปล่อยไททันลงสู่ก้นมหาสมุทร คาดว่าจะใช้เวลาดำลงไปและกลับขึ้นมารวมทั้งสิ้นประมาณ 8 ชั่วโมง

วันศุกร์ 16 มิ.ย. 2023

  • ทริปที่เกิดเหตุ ออกเดินทางจากนิวฟาวด์แลนด์สู่มหาสมุทรแอตแลนติก

วันอาทิตย์ที่ 18 มิ.ย. 2023

  • เรือโพลาร์พรินซ์เดินทางมาถึงจุดปล่อยตัวเรือดำน้ำไททัน โดยหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ให้ข้อมูลว่า ไททันเริ่มดำน้ำในช่วงเวลา 6-7 โมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น (18.00-19.00 น. ตามเวลาประเทศไทย)
  • 1 ชั่วโมง 45 นาทีต่อมา เรือโพลาร์พรินซ์ขาดการติดต่อกับไททัน
  • 14.00 น. (02.00 น. ของวันที่ 19 มิ.ย. ตามเวลาประเทศไทย) เรือดำน้ำไททันไม่ลอยกลับขึ้นสู่ผิวน้ำตามกำหนดการ
  • 16.40 น. (04.40 น. ของวันที่ 19 มิ.ย. ตามเวลาประเทศไทย) หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ได้รับแจ้งเหตุยืนยันเรือดำน้ำไททันสูญหาย

จันทร์ 19 มิ.ย. 2023

  • ทางการสหรัฐฯ และแคนาดาเริ่มปฏิบัติการ้นหา โดยใช้เครื่องบิน เรือ และทุ่นโซนาร์

วันอังคาร 20 มิ.ย. ถึงวันพุธ 21 มิ.ย.

  • มีรายงานว่า ทีมค้นหา “ตรวจพบเสียงใต้น้ำ” เปลี่ยนทิศทางยานควบคุมระยะไกล (ROV) ที่ปฏิบัติการค้นหาใต้ทะเล ไปยังบริเวณที่ดูเหมือนจะเป็นแหล่งกำเนิดเสียงแทน แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณที่จับต้องได้ของเรือที่หายไป

วันพฤหัสบดี 22 มิ.ย.

  • ตามการคาดการณ์ที่ว่าในเรือดำน้ำไททันมีออกซิเจนเพียงพอราว 4 วัน ทำให้ประเมินว่า ในเวลา 05.00 ของวันพฤหัสบดีที่ 22 มิ.ย. 2023 (17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) ออกซิเจนในเรือจะหมดลง
  • 15.00 น. (02.00 ของวันที่ 23 มิ.ย. ตามเวลาประเทศไทย) หน่วยยามฝั่งแถลงยืนยันการเสียชีวิตของผู้โดยสารบนยานไททันทั้ง 5 คน

เรียบเรียงจาก CNN / The Guardian

ภาพจาก AFP